หลายแห่งคิดว่าการมีกอล์ฟเพื่อใช้งานนั้นเราเป็นผู้กำหนดจำนวนรถที่มีกี่คัน
โดยอาจจะกำหนดจากงบประมาณที่มี หรือจากความต้องการใช้ ก็จริงนะครับ แต่ผมอยากเพิ่มเติม
ตัวกำหนดอื่นๆที่ควรพิจาณา ทั้งนี้เป็นประเภทธุรกิจทั่วไป ไม่ใช่สนามกอล์ฟครับ มาดูกันครับว่ามีหัวข้อใดบ้าง
ระยะทางที่ใช้งาน
การใช้รถกอล์ฟเพื่อการบริการลูกค้า
หรือในกิจการภายใน เราต้องพิจารณาถึงระยะทางวิ่ง
เช่นเราต้องการบริการลูกค้าจากถนนหลัก เข้าสำนักงานและจากสำนักงานกลับถนนหลัก
หากระยะทางสั้นๆประมาณ 200-300 เมตร รถกอล์ฟจะใช้เวลาวิ่งประมาณ 1 นาที
สามารถใช้รถคันเดียวบริการได้พอเพียง หากระยะทางวิ่งมากกว่า 1 กม. ควรมีรถอีกคันเพื่อให้วิ่งสลับกันบริการได้ทัน
เป็นต้น
ความจำเป็นใช้พร้อมกัน
กรณีที่ธุรกิจของเราเป็นชั่วโมงเร่งรัด
หมายถึงในเวลานั้นมีความต้องการใช้รถมากเป็นพิเศษ เช่นเวลาเช้า
มีผู้เข้ารับบริการมาก เรามีความจำเป็นต้องจัดรถให้เพียงพอต่อความต้องการ
อาจมีรถมากกว่าที่ตั้งใจเพื่อให้เพียงพอ
อีกทางเลือกหนึ่งคือการเลือกรุ่นรถที่มีความจุผู้โดยสารได้มากกว่า
แต่ต้องแลกด้วยขนาดและความคล่องตัวที่น้อยกว่า
ปริมาณการใช้รถต่อวัน
ดังที่ได้กล่าวมาในหลายตอนครับ
ว่าปริมาณการใช้รถต่อวันเป็นตัวกำหนด หากใช้รถมากกว่าวันละ 6 ชั่วโมงต่อคัน
ควรมีรถเพิ่ม ด้วยเหตุผลว่าเมื่อรถใช้งานหนัก การเสื่อมสภาพจะเร็วขึ้น
ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูงขึ้น ซึ่งค่าบำรุงรักษาต่อคันจะถูกลงเมื่อใช้งานน้อยลง
ดังนั้นวิธีประหยัดค่าบำรุงรักษาคือการใช้เฉลี่ยต่อคันให้น้อยลง
และได้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือเรามีรถสำรองในกรณีที่
รถคันหนึ่งคันใดเกิดชำรุดรอซ่อม หรือ
เกิดอุบัติเหตุไม่สามารถใช้งานได้จะช่วยได้มากครับ
งบประมาณ
ผมอยากถามดังนี้ครับ
หากเรามีรองเท้า 2 คู่ใส่สลับกัน รองเท้าจะใช้ได้ทนทานนานขึ้นไหมครับ
เมื่อเทียบกับมีรองเท้าคู่เดียว
แต่รถกอล์ฟไม่ได้มีราคาเหมือนกับรองเท้าที่ซื้อเพิ่มได้ง่าย
สิ่งที่อยากแนะนำคือหากใช้งานรถมาก และพอมีงบประมาณซื้อ 2
คันดีกว่าซื้อคันเดียวมากครับ
การซื้อรถกี่คันไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว
ท่านลองนำแต่ละหัวข้อไปพิจารณาใช้ดูครับ
ตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถกอล์ฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น