วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข้อเสียของแบตเตอรี่ Lithium

ข้อเสียของแบตเตอรี่ Lithium

ตอนนี้เป็นตอนต่อเนื่องจากตอนแรกที่พูดถึงแต่ข้อดี
ข้อเสียก็มีนะครับ แต่ก่อนเล่าให้ฟังผมขอให้ทราบ
คุณสมบัติบางประการของแบต LifePO4 ก่อนครับ


  • ชาร์จเต็มแล้วต้องหยุด (ถ้าไม่หยุดจะเกิดความร้อนลุกไหม้ได้)
  • ไม่ควรใช้แบต LifePO4 จนหมด (ถ้าใช้หมดจะพังถาวร)
  • ไม่ควรใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 55 องศา


จากข้อจำกัดทั้ง 3 ข้อทำให้แบต LifePO4 ต้องมีตัวควบคุม
ให้ทำงานอยู่ในโซนปลอดภัย ตัวควบคุมนั้นคือ Battery
Management System หรือ BMS นั่นเอง เมื่อรับทราบ
คุณสมบัติแล้วผมขอเข้าเรื่องข้อเสียเลยนะครับ

1.ต้องการ BMS เมื่อเทียบกับแบตตะกั่ว ไม่ต้องมีอุปกรณ์ป้อง
กันอะไร ก็สามารถใช้งานได้ แล้ว BMS มันทำหน้าที่อะไรบ้าง
แยกเป็นข้อดังนี้ครับ

ป้องกันใช้แบตจนหมด (แบตจะได้ไม่พัง)
ป้องกันชาร์จเกิน เต็มตัด (แบตจะได้ไม่ลุกไหม้)
ตรวจจับความร้อนเกิดที่เกิดกับแบตเตอรี
ป้องกันการ Short circuit
Balace แบต กรณีอนุกรมกันเวลาชาร์จอาจ ชาร์จเต็มไม่
ไม่พร้อมกัน ถ้าตัวไหนเต็มก่อนก็จะร้อน ตัว Balance
เป็นตัว Bypass กระแสตัวที่เต็มก่อนให้เต็มพร้อมกัน
จะได้ไม่เกิดความร้อนกับแบตตัวนั้น
เก็บข้อมูลการชาร์จ และ ใช้งานของแบต
เชื่อมต่อกับตัวควบคุมรถ
หรือเชื่อมต่อกับ Bluetooth เพื่อแสดงข้อมูลและข้อผิดพลาด

ในตัว BMS มันจะทำงานตลอดเวลาที่ต่อกับแบตอยู่ ดังนั้นปัญหาเกิด
ตรงที่ว่า ถ้าBMSเสีย ก็จะเกิดอันตรายทันที จากประสพการณ์ของผม
พบว่า BMS มักจะเสียก่อนแบตเตอรี่ ถ้าเราเลือก BMS ที่ไม่น่าเชื่อถือ
เรื่องนี้ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกได้ครับ เนื่องจากมันอยู่ภายในกล่องแบต
เห็นไหมครับว่า ถ้า BMS มันไม่ดี จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ทันที

2.น้ำหนักเบา รถกอล์ฟไฟฟ้าทุกคันถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักถ่วง
บริเวณกลางรถเป็น 100kg. แล้วถ้าใช้แบต LifePO4 ที่มีน้ำหนักน้อย
กว่ามากจะเกิดผลเสียในเรื่อง เสถียรภาพในการขับขี่รถที่เปลี่ยนไป
เนื่องจากรถเบาขึ้น ลองนึกดูครับ หากเรานั่งรถที่หนักรถจะนิ่งและ
เกาะถนน ถ้ารถเบากว่าก็ขึ้นอยู่กับช่วงล่าง แต่ช่วงล่างรถไฟฟ้า
เป็นชุดเดิมนะครับ ถึงแม้ความเร็วของรถไฟฟ้าจะไม่สูงมากก็มีผลครับ
อีกประการหนึ่งคือความนุ่มนวลเนื่องจากแหนบหรือโช๊คถูกตั้งมาที่
น้ำหนักขนาดนึ่ง เมื่อน้ำหนักรถไฟฟ้าลดลง เราจะรู้สึกเลยว่ารถมันแข็ง
หรือกระด้างขึ้นกว่าเดิม

3.ต้องการเครื่องชาร์จที่เหมาะสม เครื่องชาร์จเดิมที่ติดมากับรถอาจ
ไม่ปลอดภัยหรือไม่เหมาะสม จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องชาร์จ
ที่เพิ่มขึ้น อีกประการเครื่องชาร์จจะเป็นรุ่นที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ซึ่ง
เมื่อเกิดความเสียหาย จะไม่นิยมซ่อมครับ ใช้วิธีเปลี่ยนตัวใหม่

4.ชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้าที่สูงกว่า เมื่อเราต้องใช้เครื่องชาร์จที่มีกระแส
ที่สูงขึ้นและต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากระบบไฟฟ้าเดิมใช้กับเครื่องชาร์จ
แบตตะกั่ว อาจต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าว่าสามารถรองรับ กระแสไฟฟ้า
ที่สูงขึ้นและต่อเนื่อง เช่นสายไฟเครื่องชาร์จต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ
มิเตอร์ไฟฟ้าต้องรองรับขนาดของเครื่องชาร์จด้วย

5.แก้ปัญหายาก แบตตะกั่วเราใช้พนักงานทั่วไป ก็สามารถบำรุงรักษา
แบตเตอรี่ได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่แบต LifePO4 ไม่ต้องบำรุงรักษาก็จริง
แต่ถ้าเกิดปัญหา เราไม่สามารถดูได้ด้วยตา ต้องใช้ช่างและต้องมีเครื่อง
มือเท่านั้นถึงจะทราบปัญหา ดังนั้นต้นทุนในการดูแลหากเกิดปัญหาจะ
สูงกว่าแน่นอน

5.Claim ยาก นึกถึงแบตตะกั่วหากพบว่าแบตเสียบางลูก ผู้ขายสามารถ
Claim โดยการนำแบตเตอรี่ที่มีอายุใกล้กันเพียงลูกเดียวมาเปลี่ยนให้ได้เลย
แต่หากเป็น แบต LifePO4 ต้องเปลี่ยนยกชุด ต้นทุนในการ Claim สูงกว่า
กันอย่างมาก อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ขายแล้วครับว่า Claim ยังไง

6.ราคาสูง

ผมอยากให้มองในอีกมุมมองหนึ่ง แบตตะกั่วจ่าย 100 ใช้ได้ 50-70% ก็จริง
แต่แบต LifePO4 ราคาก็ไม่ถูกนะครับ ปรกติแล้วแบต LifePO4 ราคาจะสูง
กว่าแบตตะกั่วมากเป็นเท่าตัว จะมีแต่แบตที่ Ah. ขนาดเล็กที่ราคาใกล้เคียง
กับแบตตะกั่ว

จากที่เล่ามาทั้งหมดขอสรุปข้อเสียดังนี้ครับ
1.จุดอ่อนคือ BMS ที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ทน
2.รถเบาแต่ไม่เกาะถนน และกระด้าง
3.ต้องซื้อเครื่องชาร์จเพิ่ม
4.ชาร์จกระแสไฟสูงขึ้น ระบบไฟฟ้าต้องรองรับ
5.แก้ปัญหาเบื้องต้นได้ยาก ต้องใช้ช่างและเครื่องมือ
6.Claimยากกว่าเนื่องจากต้นทุนสูง
7.ราคาสูง

ตอนสุดท้ายในเรื่องแบต Lithium ผมจะเล่าให้ฟังเรื่องวิธีการ
เลือกแบต Lithium ว่าต้องดูอะไรบ้าง หลังจากเราทราบข้อดี
และข้อเสียมาแล้ว โปรดติดตามนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น